Wednesday, January 30, 2008

Let's Go to my PLaCE...

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา
ชุดอาหารเช้าไม้ตาล

ชื่อผลิตภัณฑ์ ชุดอาหารเช้าไม้ตาล
ประเภทผลิตภัณฑ์ ของใช้ และ ของประดับตกแต่ง

ชื่อผู้ผลิต สหกรณ์ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไม้ตาล ไม้มะพร้าวบ้านแคทราย ตำบล คูบัว อำเภอ เมืองจังหวัด ราชบุรี

ที่อยู่ 65 หมู่ที่ 12 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี

โทรศัพท์ 032-352681,01-4527139
โทรสาร 032-352681
อีเมล์
VI.WOODWORK99@chaiyo.com

ประวัติความเป็นมา
ปี 2546 เข้ารับการคัดสรร OTOP ได้ระดับ 5 ดาว แล้วได้รับคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์สุดยอด OTOP ไทย ผลิตภัณฑ์เราได้รับการคัดเลือกให้แสดงในงานเอเปคที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ยังได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เลขที่ 154-1/22 โดยเริ่มทำผลิตภัณฑ์ไม้ตาลตั้งแต่ปี 2540 และทำเรื่อยมา มีการพัฒนาออกแบบเป็น SET ต่างๆ ปี 2004 ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก จึงคิดค้นออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและทำ ตามความต้องการของลูกค้า โดยชุดอาหารเช้าเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตและเป็นสิ่งที่ต้องพิถีพิถันในการเลือกผลิต ภัณฑ์ที่สามารถส่งเสริมบรรยากาศในการรับประทานอาหารในชิ้นงานที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมา อีกทั้งได้คิดดัดแปลงสิ่ง แปลก ๆ ใหม่ๆ มาผสมผสาน โดยการบรรจงสร้างสรรค์ชิ้นงานถาดได้ออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน มีการ นำผักตบชวามาประกอบตรงหูจับเพื่อเพิ่มมูลค่า และดูสวยงาม โดยนำสิ่งที่เป็นธรรมชาติมาผสมผสานกัน มีแก้วน้ำที่ออก แบบทำให้รักษาอุณหภูมิของน้ำได้อีกด้วยเป็นการ DESIGN และผสมผสานได้อย่างลงตัว พร้อมแก้วใส่กาแฟมีฝาปิดจานรองแก้ว ที่มีสไตล์เรียบแต่คลาสสิค มี order จากบริษัทออเวย์ โอเรียลทัล จำกัด หลายพันชิ้น จานใส่อาหาร และ จานใส่ขนมปัง,คุ๊กกี้สไตล์โมเดิล ส่ง trader ไปยังประเทศเยอรมัน ช้อนเป็นสแตลเลส ด้ามเป็นไม้ตาล และช้อนชง กาแฟมีลักษณะภูมิฐาน มี order จากบริษัทโคชัวส์ แอนด์ แอสโชว์ซิเอทส์ จำกัด เป็น 10,000 ชิ้น ซึ่งนำรายได้ให้ กับท้องถิ่นอย่างมากมาย ทั้งนี้ยังใช้ oil ที่ไม่เป็นสารที่เป็นสารพิษต่อร่างกาย ไม่มีสารตกค้าง เคลือบผลิตภัณฑ์ และได้รับ ใบรับรองจากบริษัทที่ส่ง oil มาให้ซึ่งสามารถรับประกันคุณภาพได้อย่างดี


กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. นำไม้ตาลมากลึงและประกอบตามรูปแบบที่ต้องการ

2. ขัดและตกแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม
3. นำ oil ที่ไม่มีสารพิษทาเคลือบเพิ่มความเนียนเงางามเป็นธรรมชาติ
4. ตรวจเช็คคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน
5. จัดส่งหรือวางจำหน่ายต่อไป

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
1. มี DESIGN ที่เป็นสากล

2.ผสมผสานระหว่างธรรมชาติและเทคโนโลยีได้กลมกลืน
3.ลานเซี้ยนที่มีเอกลักษณ์ในตัว
4.สามารถใช้งานได้จริงสมประโยชน์
5.สามารถเป็นของใช้และเป็นของฝากที่ระลึกในวาระโอกาสต่างๆ
6.มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

ปริมาณการผลิต
โดยเฉลี่ยประมาณ 2500.-ชิ้น /เดือน


ราคา
- ถาด ขนาดกว้าง 12 นิ้ว ยาว 16 นิ้ว สูง 4 ซม. ราคาขายปลีก/หน่วยละ 480 บาท

- จาน เส้นผ่าศูนย์กลาง 24 ซม. สูง 3 ซม. ราคาขายปลีก/หน่วยละ 220 บาท
- จาน เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 1.8 ซม. ราคาขายปลีก/หน่วยละ 95 บาท
- แก้วน้ำหุ้มไม้ตาล ขนาด 360 มล. ฯลฯ

สถานที่จำหน่าย
1. สหกรณ์ผู้ผลิตไม้ตาล/ไม้มะพร้าวบ้านแคทราย

2. บริษัท TRADER ส่งต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน
3. บริษัททัวร์เจมส์คอเลคชั่น จำกัด
4. ส่งแหล่งท่องเที่ยว อาทิ จ.ภูเก็ต,เชียงใหม่,ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ราชบุรี
5. ศูนย์ OTOP ท่าราบ

สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
WOOD WORK 65/12 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี

โทร.032-352681,01-4527139
E-mail : VI.WOODWORK99@chaiyo.com

ที่มา : http://www.otop5star.com/search-th.php?cat=&pt=&ps=10&by=1&odr=asc&prv=70&dst=&tmb=&typ=sa&ser=&cat=&&pg=0#

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา
ผ้าจกทอมือ
ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าจกทอมือ
ประเภทผลิตภัณฑ์ ผ้า เครื่องแต่งกาย
ชื่อผู้ผลิต สหกรณ์การเกษตรไท-ยวน ราชบุรี จำกัด ตำบล คูบัว อำเภอ เมืองจังหวัด ราชบุรี
ที่อยู่ 101 หมู่ที่ 6 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี
โทรศัพท์ 032-323197,07-0259088,01-7631989,01-7050406

ประวัติความเป็นมา
ผ้าจกเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของไท-ยวนที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน เป็นผ้าที่ใช้แปรรูปเป็นเครื่องแต่งกายของชาวไท-ยวน เช่น ผ้าซิ่นตีนจก,ผ้าขาวม้าจก,ย่ามจก,กระเป๋าคาดเอวจก ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไท-ยวน ต่อมาชาวไท-ยวน ได้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ.2347 มาตั้งหลักแหล่งที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อได้ปลูกบ้านเรือนอาศัยสมบูรณ์แล้วก็ได้ทอผ้าด้วยวิธีจกเพื่อนำไปแปรรูปเป็น เครื่องแต่งกายดังกล่าว แสดงเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ให้เป็นที่ประจักษ์ ปัจจุบันผ้าจกเป็นผลผลิตทางภูมิปัญญาการทอของชาวไท-ยวน อย่างแพร่หลาย
ในจังหวัดราชบุรี และเป็นที่นิยมของผู้รักผ้าไทยโดยทั่วไป

กระบวนการขั้นตอนการผลิต
การทอผ้าจกในอดีต : ชาวไท-ยวนจะปลูกฝ้ายเพื่อปั่นเป็นเส้นด้ายใช้ทอผ้าจกและใช้หูกทอผ้าแบบโบราณที่พุ่งกระสวยด้วยมือ การย้อมสีเส้นด้ายก็ใช้วิธีการย้อมด้วยสีธรรมชาติ ทอจกเป็นผืนตา วัตถุประสงค์การใช้นุ่งห่มมิได้มุ่งเน้นเพื่อการจำหน่าย การทอผ้าในปัจจุบัน : ลูกหลานไท-ยวน ส่วนมากในปัจจุบันจะเริ่มทอผ้าจกด้วยการสั่งซื้อวัสดุเส้นใยจากโรงงานทำเส้นใยในกรุงเทพฯ หรือตัวแทนจำหน่าย ฉะนั้นส่วนมากจะเป็นเส้นใยประสมหรือเส้นใยสังเคราะห์ย้อมด้วยสีเคมี เมื่อได้เส้นใย
ดังกล่าวก็จะนำมาขึ้นม้วนกี่กระตุกซึ่งเป็นกี่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากภูมิปัญญาของคนจีน เป็นกี่หน้ากว้างทอได้รวดเร็วกว่าหูกโบราณ การขึ้นม้วน (การเตรียมเส้นยืน) จะจ้างผู้มีอาชีพรับจ้างขึ้นม้วนเป็นส่วนมากแต่จะมีบางคนที่ขึ้นม้วนด้วยตนเองแต่
ไม่มากนัก เมื่อได้ม้วนเส้นยืนแล้ว ช่างฝีมือก็จะทอด้วยวิธีจกลวดลายตามแบบที่ได้สืบทอดกันมา ส่วนเส้นพุ่งจะกรอเส้นด้ายเข้าหลอดด้วยตนเอง เพราะเป็นขบวนการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ประการใด
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ผ้าจกมีจุดเด่นที่มีสีสันสลับสอดสีพื้นดำจกด้วยสีแดง แซมด้วยสีเหลืองเขียวเส้นใยละเอียดเนื้อแน่น ลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นคูบัว และแสดงถึงศิลปะของความเป็นไทยท้องถิ่นได้อย่างเด่นชัด เหมาะสมสำหรับนำไปแปรรูปเป็นผ้าซิ่นเสื้อทั้งชาย-หญิง ฯลฯ

ปริมาณการผลิต
สมาชิกสหกรณ์ฯ สามารถผลิตผ้าจกรวมกันเดือนละโดยประมาณ 2,000 ผืน

ราคา
ราคาจำหน่ายโดยเฉลี่ย ประมาณผืนละ 1,000 บาท

สถานที่จำหน่าย
1.ศูนย์สืบทอดภูมิปัญญาไทย ตั้งอยู่บริเวณจิปาถะภัณฑสถานบ้านคูบัว วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
2.สถานที่ราชการจัดให้มีการจำหน่ายสินค้า OTOP ตามแต่โอกาส
3.จำหน่ายต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา,สวิสเซอร์แลนด์,ศรีลังกา,จีน

สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- สหกรณ์การเกษตรไท-ยวน ราชบุรี จำกัด ตั้งอยู่หน้าวัดคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
โทร.07-0259088,01-7631989,09-6164852
- จิปาถะภัณฑสถานบ้านคูบัว ตั้งอยู่หน้าวัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
โทร.01-7631989
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา
ไชโป้วหวานตราชฎา
ชื่อผลิตภัณฑ์ ไชโป้วหวานตราชฎา
ประเภทผลิตภัณฑ์ อาหาร
ผู้ผลิต นางกัลยาณี หยู่เอี่ยม
ที่อยู่ 49 หมู่ที่ 3 ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
โทรศัพท์ 01-8569013
โทรสาร 032-305227
อีเมล์
chadaradish@hotmail.com

ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงมีพื้นที่ที่เหมาะกับการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับพื้นที่ในตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ก็มีแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตรกรรมเกี่ยวกับหัวผักกาดขาว ด้วยพื้นที่เป็นดินปนทรายเหมาะอย่างยิ่งกับการปลูกหัวผักกาดขาวและนิยมปลูกได้ผลดี เฉพาะในช่วงฤดูหนาวของทุกปี จึงควรเก็บกักผลผลิตให้มีเพียงพอต่อการบริโภคทั้งปี โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยการนำมาหมักเค็ม และเพื่อให้มีรสชาติอร่อยน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น จึงนำมาแปรรูปทำเป็นผักกาดดองหวานหรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “หัวไชโป้วหวาน” นั่นเอง

กระบวนการขั้นตอนการผลิต
คัดเลือกหัวผักกาดสดพันธุ์ดีจากไร่นำมาหมักกับเกลือทะเลขาวทิ้งไว้ ประมาณ 1 เดือน จะกลายเป็นผักกาดเค็ม หลังจากนั้นนำผักกาดเค็มมาคัดขนาดตามความต้องการ เพื่อเตรียมไว้สำหรับการดองหวาน โดยเริ่มจากการนำผักกาดดองเค็มมาล้างให้สะอาดทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำมาใส่ถังพลาสติกที่เตรียมไว้ ใส่น้ำตาลทรายขาวแล้วปิดฝาให้มิดชิดทิ้งไว้ 10 - 30 วัน ตามชนิดของผักกาด ก็จะกลายเป็นผักกาดหวาน นำมาผึ่งให้น้ำสะเด็ดแล้วก็สามารถนำมาบรรจุใส่ซอง รอการจำหน่ายต่อไป (ปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการฆ่าเชื้อด้วยแสงยูวีและทดสอบความหวาน - เค็มด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์)

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
- เป็นอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที
- ผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาดและได้มาตรฐานได้รับเครื่องหมายรับรองจาก อย.,มผช.,ฮาลาล,กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและราคาย่อมเยาว์

ปริมาณการผลิต
ผลิต 3,000 กิโลกรัม/วัน หรือ 10,000 ซอง/วัน

ราคา
ราคาขายส่งกิโลกรัมละ 28-30 บาท ราคาขายปลีกกิโลกรัมละ 35 บาท / ราคาขายส่งซองละ 17 บาท ราคาขายปลีกซองละ 25 บาท

สถานที่จำหน่าย
- 49 หมู่ที่ 3 ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 01-8569013
- จำหน่ายโดยตรงที่โรงงานและพ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีกทั่วไป
- มีตัวแทนจัดจำหน่ายส่งไปยังต่างประเทศ (อเมริกา,อินโดนีเซีย,สิงค์โปร์,เดนมาร์ก)
- ศูนย์แสดงสินค้าที่อิมแพค เมืองทองธานี (ออกบูธ)
- ร้านค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์,สหกรณ์พระนคร,สหฟาร์ม,ซุปเปอร์มาร์เก็ต

สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณกัลยาณี หยู่เอี่ยม 49 หมู่ 3 ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120
โทร. 01-8569013 ,032397049 โทรสาร. 032-305227

Tuesday, January 29, 2008

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรา
ไข่เค็มสมุนไพรพอกดินสอพอง


ชื่อผลิตภัณฑ์ ไข่เค็มสมุนไพรพอกดินสอพอง
ประเภท อาหาร
ชื่อผู้ผลิต เกษตรกรเลี้ยงสัตว์เกาะพลับพลา
ที่อยู่ผู้ผลิต 51 หมู่ 5 ถนน - ตำบล เกาะพลับพลา อำเภอ เมือง จังหวัด ราชบุรี
โทรศัพท์ 0-6163-9868
ราคา ฟองละ 4 บาท
ปริมาณการผลิต ประมาณ 2,000 ฟอง/สัปดาห์ หรือประมาณ 8,000 ฟอง/เดือน

ประวัติความเป็นมา
ชาวชุมชนบ้านโคกหินตำบลเกาะพลับพลา ได้รวมตัวและจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ขึ้นโดยขึ้นทะเบียนกับทางราชการ โดยมีวัตถุประสงค์ผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงภายในตำบลเกาะพลับพลา โดยกลุ่มเลี้ยงเป็ดนำไข่เป็ดมาแปรรูปในการถนอมอาหารและใช้ดินสอพองในหมู่บ้านมาเป็นวัตถุเคลือบไข่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรไทย คิดค้นทำสูตรไข่เค็มที่ใช้สมุนไพรไทย ๆ เป็นตัวประกอบ คือ ไข่เค็มสูตรใบเตย ไข่เค็มสูตรกระชายดำ ฯลฯ จนประสบความสำเร็จเป็นที่สนใจของชาวชุมชนที่จะร่วมใจกันผลิตสินค้า สมาชิกของกลุ่มเกษตรกรฯ มีทั้งนักเรียนและผู้ชรามาร่วมดำเนินการ เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรดังกล่าวเป็นผู้ยากจน แต่ก็ร่วมมือร่วมใจการผลิตสินค้าจนเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์"

กระบวนการ/ขั้นตอนการผลิต
นำเกลือไอโอดีน ดินสอพอง และใบเตยมาผสมและนวดให้เข้ากันนำมาหุ้มไข่เป็ด แล้วคลุกขึ้เถ้าแกลบ เก็บใส่ภาชนะที่มิดชิด โดยเก็บไว้ 7 วันนำมาทอดเป็นไข่ดาวและเก็บไว้ 20 วันนำมาต้มเป็นไข่เค็ม

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสมุนไพรไทย คิดค้นทำสูตรไข่เค็มสมุนไพรไทย ๆ เช่น ไข่เค็มสูตรใบเตย , ไข่เค็มสูตรกระชายดำ , ไข่เค็มสูตรขิง เป็นต้น

สถานที่จำหน่าย
ตลาดนัดทั่วไป - โรงพยาบาลจังหวัดราชบุรี - ห้าง SUNNY - ตลาดเทศบาลเมืองราชบุรี

สนใจสั่งซื้อหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองราชบุรี โทร. 032-315021 - กลุ่มเกษตรกร 51 ม.5 ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี - เทศบาลตำบลเขางู โทร. 06-1639868

ที่มา : http://th.88db.com/th/Services/Post_Detail.page/care_household/Pest_Control/?PostID=110434

Thursday, January 24, 2008

ในหลวงกับเทคโนโลยี
การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา" จากการที่สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงเกิดเป็นภาวะมลพิษอันเกิดจากน้ำเน่าเสียที่มีอัตรา และปริมาณสูงขึ้นจนยากแก่การแก้ไขให้บรรเทา เบาบางและกลับมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบ ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณเพื่อศึกษาวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วมกับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า "กังหันน้ำชัยพัฒนา"
การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ
1. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟอง
Chaipattana Aerator, Model RX-1
2. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์"
Chaipattana Aerator, Model RX-3
3.เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4
4.
เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ"ชัยพัฒนาแอร์เจท"
Chaipattana Aerator, Model RX-5 5.เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6
6.
เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์"
Chaipattana Aerator, Model RX-7
7.
เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8
8.
เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา"
Chaipattana Aerator, Model RX-9
9.
เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"
Chaipattana Aerator, Model RX-2
เครื่องกลเติมอากาศต่างๆ นี้ได้นำมาติดตั้งใช้งานกับระบบบำบัดน้ำเสียตามสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 และได้มีการปรับปรุงตลอดเวลา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะให้มีการบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก ในการใช้งาน ประหยัดค่าใช้จ่าย และบำรุงรักษาได้ง่าย ตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน การดำเนินงานในขณะนี้ได้ผล ดีเป็นที่น่าพอใจ ทำให้น้ำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็นลงได้มากและมีปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น บรรดาสัตว์น้ำ อาทิ เต่า ตะพาบน้ำ และปลา สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมวลสารต่าง ๆ ให้ ลดต่ำลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร้องขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาเข้าไปช่วยเหลือในการบำบัด น้ำเสียอย่างเร่งด่วนเป็นจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยนับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก" นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง
หลักการและวิธีการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำ ในแหล่งน้ำเสีย มีส่วนประกอบสำคัญ คือ
- โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
- ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง รูซองน้ำพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย
- ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ซึ่งทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ วิดตักน้ำด้วย ความเร็ว สามารถวิดน้ำลึกลงไปจากใต้ผิวน้ำประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำสาดขึ้นไปกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำ ได้สูงถึง 1 เมตรทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากและส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลายเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว
- ในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศ จมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ซองน้ำกำลังเคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำภายใต้ผิวน้ำ จนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น หลังจากนั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้วจะเกิดการถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซองน้ำ รวมทั้งการโยกตัวของทุ่นลอยในขณะทำงานสามารถผลักดันน้ำให้เคลื่อนที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับความลึกใต้ผิวน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย จึงก่อให้เกิดกระบวนการทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสาน และการทำให้เกิดการไหลของน้ำเสียไปตามทิศทางที่กำหนดโดยพร้อมกัน เครื่องกลนี้สามารถที่จะบำบัดน้ำเสียที่มีความสกปรก (BOD) 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้วันละ 600 ลูกบาศก์เมตร ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD ได้สูงกว่า 90 เปอร์เซนต์ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงลูกบาศก์เมตรละ 96 สตางค์คิดเป็นจำนวนความสกปรกในหน่วยกิโลกรัม BOD เสียค่าใช้จ่าย 3.84 บาทเท่านั้น

Tuesday, January 22, 2008

ในหลวงกับเทคโนโลยี
ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ " ฝนหลวง "

ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ย่านบริเวณเทือกเขาภูพานทรงสังเกตว่า มีปริมาณเมฆมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบิน แต่ไมสามารถรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ ทั้งที่เป็นช่วงฤดูฝน และทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ในระยะวิกฤติของพืชผล ทำให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจไม่มีผลผลิตเลย และอาจทำให้ ผลผลิตที่มีอยู่เสียหายได้ จึงเป็นความเดือดร้อนอย่างสาหัสและก่อให้เกิดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ แก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวง นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้น เพราะการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรกรรมและการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งมีผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ ไม่เพียงพอ ซึ่งเห็นได้ชัดจากปริมาณ น้ำในเขื่อนภูมิพลที่ลดลงอย่างน่าตกใจ ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหา วิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ กับทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ "ฝนหลวง" หรือ "ฝนเทียม" จึงกำเนิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่าง ใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานปฎิบัติการฝนหลวง" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน
พระบรมราโชบายในการพัฒนาโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ทรงเน้นความจำเป็นในด้านพัฒนาการ และปรับปรุงวิธีการทำฝนในแนวทางของการออกแบบการปฎิบัติการ การ ติดตามและประเมินผลที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ตลอดจนความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษารูปแบบเมฆและการปฎิบัติการทำฝนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการทรงย้ำถึงบทบาทของการดัดแปรสภาพอากาศ หรือการทำฝนว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่งในกระบวน การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำ ทรงเน้น ความร่วมมือประสานงานของหน่วยงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นกุญแจสำคัญในอันที่จะทำ ให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวิเคราะห์การทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมอ๊อกไซด์ หรือสารผสมระหว่าง เกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสม ระหว่างสารยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งสาร ผสมดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำอากาศ


ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนนี้ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) ให้กลุ่มเมฆฝน มีความหนาแน่นมากขึ้น


ขั้นตอนที่ 3 โจมตี สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นสารเย็นจัด คือซิลเวอร์ไอโอได น้ำแข็งแห้ง เพื่อทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำ ที่มีขนาดใหญ่มากและตกกลายเป็นฝนในที่สุด อย่างไรก็ดี ทุกขั้นตอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้สารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพอากาศสภาพภูมิประเทศทิศทางและความเร็วของลม ตลอดจนกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัดที่จะโปรยสารเคมี
บทบาท "ฝนหลวง" วันนี้
1. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง
2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำโดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้น ทางคมนาคมได้
3. เพื่อป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม "ฝนหลวง" ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบายน้ำเสีย และขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง
4. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าฝนหลวงในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวความคิดให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ การสร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา

Monday, January 21, 2008

ในหลวงกับเทคโนโลยี
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรกรุงเทพมหานคร

ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าปัญหาการจราจรมิใช่ปัญหาของคนเมืองหลวงเท่านั้น หากแต่พระวินิจฉัยว่าต้องเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือแก้ไขอย่างเร่งด่วน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับการจราจร เพื่อเป็นการแก้ไขและบรรเทาปัญหาจราจรที่กำลังวิกฤตอยู่ โครงการพระราชดำริของพระองค์ท่านอยู่บนพื้นฐานที่มีความเป็นไปได้ คือให้รถแล่น พอแล่นได้ ไม่คั่ง ไม่ศูนย์กิโลเมตรต่อชั่วโมงและไม่ใช่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้พอไปเช่นนี้ก็จะทำให้รถในท้องถนนเฉลี่ยไป

พระราชประสงค์เกี่ยวกับการแก้ปัญหาจราจร
1. ให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ใช้รถใช้ถนนอย่างมีระเบียบวินัย ให้เคารพกฎจราจร และกฎหมายอย่างเคร่งครัด

2. เจ้าหน้าที่ตำรวจในโครงการดังกล่าวต้องเดินทางไปยังจุดที่มีปัญหาจราจรโดยเร่งด่วน พร้อมแก้ปัญหาจราจรได้ดุจน้ำไหล

3. ให้เจ้าหน้าที่ดูแลรถบนท้องถนนอย่าให้ติดขัด

4. ให้ในพื้นที่มีปัญหาจราจรติดขัดแบบคอขวดเจ้าหน้าที่ต้องแก้ไขให้เป็นระบบโครงข่าย ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วถึง คือ สามารถให้รถเคลื่อนไหลไปได้ดุจน้ำไหลออกจากขวด

5. พยายามให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาจราจรให้ได้

พระราชดำริในการแก้ปัญหาจราจร
1. แบ่งถนนในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง ให้ชัดเจน
2. ทะลุถนนให้เชื่อมถึงกัน
3. ตัดถนนเพิ่มผิวจราจร เพื่อระบายรถบรรทุกจากคลองเตย
4. สร้างถนนปิดคร่อมคลองประปา
5. สร้างถนนยกระดับอรุณอมรินทร์ – แยกวิสุทธิกษัตริย์ เพื่อแก้ปัญหาคอขวด
6. แก้วิกฤติแยกลำสาลี
7. สร้างถนนคู่ขนานพระราม 9 เพื่อลดภาระการจราจร
8. ทรงชี้แนะที่ลุ่ม ที่ดอน ที่น้ำขังและการระบายน้ำ
พระองค์ทรงเป็นหลักชัยในการแก้ไขปัญหา ย่อมเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า
ในหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา เมื่อประเทศประสบปัญหาคับขันไม่ว่าเรื่อง ใด ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราช ทานความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยพระสติปัญญาอย่างเต็มกำลังพระองค์จึงทรงประดุจดั่งศูนย์รวมและหลักชัยของประชาชนชาวไทย สำหรับโครงการพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ทรงเป็นผู้ริเริ่ม แก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมโดยพระราชทานแนว พระราชดำริอันเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องและให้หน่วยงานต่างๆ รับไปดำเนินงานอยู่ เสมอ โดยมีผู้สนับสนุนการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริมากมาย นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังได้ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 12 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาจราจรซึ่งหน่วยงานต่างรับไปเป็นทุนสำรองเบื้องต้นในการดำเนินงาน เช่น กรมตำรวจได้นำพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่งไปจัดซื้อรถจักรยานยนต์ ให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาการจราจร และอบรมเจ้าหน้าที่ เพื่อประสานการจราจรให้สะดวกรวดเร็วขึ้น หลังจากนั้นได้มีประชาชน หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนให้ความร่วมมือสนับสนุน ร่วมบริจาคเงินเพื่อสมทบการดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริด้านการจราจรอีกเป็นจำนวนมาก
สำหรับกรุงเทพมหานครนั้น การดำเนินโครงการพระราชดำริเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาการจราจรในด้านกายภาพที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วและที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างมีหลายโครงการ

- โครงการก่อสร้างถนนรัชดาภิเษก
- โครงการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ (สายบางกอกน้อย)
-
โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายผิวจราจรถนนราชดำเนินบริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์ (เดิม)
- โครงการขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
- โครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนาน สะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนินนอก
- โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริบริเวณถนนพระราม 9
-
โครงการก่อสร้างสะพานคนเดินข้ามถนนรัชดาภิเษก
- โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนพระบรมราชชนนี
- โครงการสะพานพระราม 8
ที่มา : http://www.bma.go.th/html/page65.html

Sunday, January 20, 2008

ในหลวงกับเทคโนโลยี
พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

"พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ...ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย..." (สุชาติ เผือกสกนธ์, วันสื่อสารแห่งชาติ : ๒๕๓๐)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับตรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที ในบางรายที่มีอาการป่วยหนัก จำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณหรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลของ
องค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นห่างไกล
ในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อย หรือไม่ตกตามที่คิดบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน


นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ
ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ
ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ

นอกเหนือจากวิทยุสื่อสารแล้ว ในเรื่องของเทเล็กซ์พระองค์ทรงสนพระทัยอยู่ไม่น้อย และสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงขาดคือ การพระราชทานพรปีใหม่ นอกจากจะทรงมีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพรทางเทเล็กซ์สม่ำเสมอทุกปี แต่ในปัจจุบันท่านทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์บัตรอวยพรปีใหม่แทน
นอกจากนี้พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้
ประชาชนอยู่ดีกินดี
ที่มา
: http://www.princess-it.org/kp9/hmk-IT/hmk-comm.th.html

Sunday, January 6, 2008

ในหลวงกับเทคโนโลยี
โครงการน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ทดแทนน้ำมันดีเซล

น้ำมันปาลม์กลั่นบริสุทธิ์ทดแทนน้ำมันดีเซล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนชาวไทย ทรงคิดพิจารณาหาหนทางบำบัดทุกข์บำรุงสุขอยู่ตลอดเวลา ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของแหล่งพลังงานทดแทน ที่จะสามารถนำมาใช้งานภายในประเทศ หากเกิดวิกฤตการณ์ ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นในอนาคตการนำน้ำมันที่สกัดจากพืชมาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ก็เป็นโครงการในพระราชดำริอีกโครงการหนึ่ง โดยทรงให้ทดลอง นำน้ำมันปาล์มมาใช้กับ เครื่องยนต์ดีเซลเพราะปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูก สูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด ในกระบวนการผลิดน้ำมันพืชในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นผลผลิต ที่เกษตรสามารถผลิตขึ้นได้เองภายในประเทศ การทดลองใช้น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เริ่มต้นลงมือกันตั้งแต่ เดือนกันยายน 2543 เป็นต้นมา โดยแนวความคิดจากสมมุติฐาน การออกแบบเครื่องยนต์ดีเซลต้นแบบเดิมที่ออกแบบสำหรับใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีความไวไฟต่ำ เช่น น้ำมันพืชทั่วๆไป และหลักการทำงานพื้นฐานของ เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันก็ยังคงเดิมอยู่หากแต่ว่าได้มีการพัฒนานำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเสริมให้ ประสิทธิภาพ และสมรรถนะของเครื่องยนต์ ให้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก

ในการทดลองนี้ได้ นำเอาน้ำมันปาล์มประเภทต่างๆ มาทดลองใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลประเภทต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน รวมไปถึงเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ ที่กำลังจะนำเข้ามาใช้ในอนาคต ทำการทดลองทั้งในห้องทดลอง และในสภาพแวดล้อมการใช้งานปกติทั่วไป ซึ่งปรากฎว่า น้ำมันปาลม์กลั่นบริสุทธิ์ (R.B.D. Palm Olein) มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลมากที่สุด โดยไม่ต้องมีการปรับแต่ง หรือดัดแปลงเครื่องยนต์ แต่ประการใด ทั้งยังสามารถสลับเปลี่ยนหรือผสมกับน้ำมันดีเซลทั่วไป ได้ทันทีทุกอัตราส่วน ในด้านประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ก็ยังคงให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดของเครื่องยนต์ ตามที่ผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้ ทั้ง แรงม้า (Power) แรงบิด (Torque) และรอบการทำงานของเครื่องยนต์ และจากการทดลองก็พบว่า ในเครื่องยนต์ดีเซลบางแบบกลับให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าการใช้น้ำมันดีเซลธรรมดา หลังจากการทดลองประสบความสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงขอจดสิทธิบัตร ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพานิชย์ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ได้สิทธิบัตรเลขที่ 10764 ในชื่อ การใช้น้ำมันปาล์ม กลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล การนำน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ มาใช้แทนน้ำมันดีเซล ก็พบว่าน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ หรือที่เรียกกันว่า ปาล์มโอเลอีน ซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้ในการปรุงอาหาร มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลมีข้อดี ในส่วนที่เป็นน้ำมันสะอาด และมีความไวไฟต่ำทำให้สะดวกในการเก็บ เป็นสารชีวภาพที่สามารถย่อยสลายตัวได้ง่าย หากปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อม และจากการทดลองก็พบว่าไอเสียที่ปล่อยจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์มีคุณภาพดีกว่า น้ำมันดีเซล คือควันดำและเขม่าน้อยมาก ไม่มีกลิ่นฉุน และไม่มีสารซัลเฟอร์ อันเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และกัดกร่อนสร้างความเสียหาย แก่อุปกรณ์ในเครื่องยนต์ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติด้านการหล่อลื่นในตัวเอง ทำให้ช่วยลดการสึกหรอและเสียงรบกวนของเครื่องยนต์ ซึ่งจะส่งผลให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานยืนยาวขึ้น อีกทั้งยังช่วย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ ลดการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร

ที่มา :http://technology.thai.net/replacement-energy.html