Wednesday, January 30, 2008

Let's Go to my PLaCE...

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา
ชุดอาหารเช้าไม้ตาล

ชื่อผลิตภัณฑ์ ชุดอาหารเช้าไม้ตาล
ประเภทผลิตภัณฑ์ ของใช้ และ ของประดับตกแต่ง

ชื่อผู้ผลิต สหกรณ์ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไม้ตาล ไม้มะพร้าวบ้านแคทราย ตำบล คูบัว อำเภอ เมืองจังหวัด ราชบุรี

ที่อยู่ 65 หมู่ที่ 12 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี

โทรศัพท์ 032-352681,01-4527139
โทรสาร 032-352681
อีเมล์
VI.WOODWORK99@chaiyo.com

ประวัติความเป็นมา
ปี 2546 เข้ารับการคัดสรร OTOP ได้ระดับ 5 ดาว แล้วได้รับคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์สุดยอด OTOP ไทย ผลิตภัณฑ์เราได้รับการคัดเลือกให้แสดงในงานเอเปคที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ยังได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เลขที่ 154-1/22 โดยเริ่มทำผลิตภัณฑ์ไม้ตาลตั้งแต่ปี 2540 และทำเรื่อยมา มีการพัฒนาออกแบบเป็น SET ต่างๆ ปี 2004 ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก จึงคิดค้นออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและทำ ตามความต้องการของลูกค้า โดยชุดอาหารเช้าเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตและเป็นสิ่งที่ต้องพิถีพิถันในการเลือกผลิต ภัณฑ์ที่สามารถส่งเสริมบรรยากาศในการรับประทานอาหารในชิ้นงานที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมา อีกทั้งได้คิดดัดแปลงสิ่ง แปลก ๆ ใหม่ๆ มาผสมผสาน โดยการบรรจงสร้างสรรค์ชิ้นงานถาดได้ออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน มีการ นำผักตบชวามาประกอบตรงหูจับเพื่อเพิ่มมูลค่า และดูสวยงาม โดยนำสิ่งที่เป็นธรรมชาติมาผสมผสานกัน มีแก้วน้ำที่ออก แบบทำให้รักษาอุณหภูมิของน้ำได้อีกด้วยเป็นการ DESIGN และผสมผสานได้อย่างลงตัว พร้อมแก้วใส่กาแฟมีฝาปิดจานรองแก้ว ที่มีสไตล์เรียบแต่คลาสสิค มี order จากบริษัทออเวย์ โอเรียลทัล จำกัด หลายพันชิ้น จานใส่อาหาร และ จานใส่ขนมปัง,คุ๊กกี้สไตล์โมเดิล ส่ง trader ไปยังประเทศเยอรมัน ช้อนเป็นสแตลเลส ด้ามเป็นไม้ตาล และช้อนชง กาแฟมีลักษณะภูมิฐาน มี order จากบริษัทโคชัวส์ แอนด์ แอสโชว์ซิเอทส์ จำกัด เป็น 10,000 ชิ้น ซึ่งนำรายได้ให้ กับท้องถิ่นอย่างมากมาย ทั้งนี้ยังใช้ oil ที่ไม่เป็นสารที่เป็นสารพิษต่อร่างกาย ไม่มีสารตกค้าง เคลือบผลิตภัณฑ์ และได้รับ ใบรับรองจากบริษัทที่ส่ง oil มาให้ซึ่งสามารถรับประกันคุณภาพได้อย่างดี


กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. นำไม้ตาลมากลึงและประกอบตามรูปแบบที่ต้องการ

2. ขัดและตกแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม
3. นำ oil ที่ไม่มีสารพิษทาเคลือบเพิ่มความเนียนเงางามเป็นธรรมชาติ
4. ตรวจเช็คคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน
5. จัดส่งหรือวางจำหน่ายต่อไป

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
1. มี DESIGN ที่เป็นสากล

2.ผสมผสานระหว่างธรรมชาติและเทคโนโลยีได้กลมกลืน
3.ลานเซี้ยนที่มีเอกลักษณ์ในตัว
4.สามารถใช้งานได้จริงสมประโยชน์
5.สามารถเป็นของใช้และเป็นของฝากที่ระลึกในวาระโอกาสต่างๆ
6.มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

ปริมาณการผลิต
โดยเฉลี่ยประมาณ 2500.-ชิ้น /เดือน


ราคา
- ถาด ขนาดกว้าง 12 นิ้ว ยาว 16 นิ้ว สูง 4 ซม. ราคาขายปลีก/หน่วยละ 480 บาท

- จาน เส้นผ่าศูนย์กลาง 24 ซม. สูง 3 ซม. ราคาขายปลีก/หน่วยละ 220 บาท
- จาน เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 1.8 ซม. ราคาขายปลีก/หน่วยละ 95 บาท
- แก้วน้ำหุ้มไม้ตาล ขนาด 360 มล. ฯลฯ

สถานที่จำหน่าย
1. สหกรณ์ผู้ผลิตไม้ตาล/ไม้มะพร้าวบ้านแคทราย

2. บริษัท TRADER ส่งต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน
3. บริษัททัวร์เจมส์คอเลคชั่น จำกัด
4. ส่งแหล่งท่องเที่ยว อาทิ จ.ภูเก็ต,เชียงใหม่,ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ราชบุรี
5. ศูนย์ OTOP ท่าราบ

สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
WOOD WORK 65/12 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี

โทร.032-352681,01-4527139
E-mail : VI.WOODWORK99@chaiyo.com

ที่มา : http://www.otop5star.com/search-th.php?cat=&pt=&ps=10&by=1&odr=asc&prv=70&dst=&tmb=&typ=sa&ser=&cat=&&pg=0#

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา
ผ้าจกทอมือ
ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าจกทอมือ
ประเภทผลิตภัณฑ์ ผ้า เครื่องแต่งกาย
ชื่อผู้ผลิต สหกรณ์การเกษตรไท-ยวน ราชบุรี จำกัด ตำบล คูบัว อำเภอ เมืองจังหวัด ราชบุรี
ที่อยู่ 101 หมู่ที่ 6 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี
โทรศัพท์ 032-323197,07-0259088,01-7631989,01-7050406

ประวัติความเป็นมา
ผ้าจกเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของไท-ยวนที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน เป็นผ้าที่ใช้แปรรูปเป็นเครื่องแต่งกายของชาวไท-ยวน เช่น ผ้าซิ่นตีนจก,ผ้าขาวม้าจก,ย่ามจก,กระเป๋าคาดเอวจก ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไท-ยวน ต่อมาชาวไท-ยวน ได้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ.2347 มาตั้งหลักแหล่งที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อได้ปลูกบ้านเรือนอาศัยสมบูรณ์แล้วก็ได้ทอผ้าด้วยวิธีจกเพื่อนำไปแปรรูปเป็น เครื่องแต่งกายดังกล่าว แสดงเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ให้เป็นที่ประจักษ์ ปัจจุบันผ้าจกเป็นผลผลิตทางภูมิปัญญาการทอของชาวไท-ยวน อย่างแพร่หลาย
ในจังหวัดราชบุรี และเป็นที่นิยมของผู้รักผ้าไทยโดยทั่วไป

กระบวนการขั้นตอนการผลิต
การทอผ้าจกในอดีต : ชาวไท-ยวนจะปลูกฝ้ายเพื่อปั่นเป็นเส้นด้ายใช้ทอผ้าจกและใช้หูกทอผ้าแบบโบราณที่พุ่งกระสวยด้วยมือ การย้อมสีเส้นด้ายก็ใช้วิธีการย้อมด้วยสีธรรมชาติ ทอจกเป็นผืนตา วัตถุประสงค์การใช้นุ่งห่มมิได้มุ่งเน้นเพื่อการจำหน่าย การทอผ้าในปัจจุบัน : ลูกหลานไท-ยวน ส่วนมากในปัจจุบันจะเริ่มทอผ้าจกด้วยการสั่งซื้อวัสดุเส้นใยจากโรงงานทำเส้นใยในกรุงเทพฯ หรือตัวแทนจำหน่าย ฉะนั้นส่วนมากจะเป็นเส้นใยประสมหรือเส้นใยสังเคราะห์ย้อมด้วยสีเคมี เมื่อได้เส้นใย
ดังกล่าวก็จะนำมาขึ้นม้วนกี่กระตุกซึ่งเป็นกี่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากภูมิปัญญาของคนจีน เป็นกี่หน้ากว้างทอได้รวดเร็วกว่าหูกโบราณ การขึ้นม้วน (การเตรียมเส้นยืน) จะจ้างผู้มีอาชีพรับจ้างขึ้นม้วนเป็นส่วนมากแต่จะมีบางคนที่ขึ้นม้วนด้วยตนเองแต่
ไม่มากนัก เมื่อได้ม้วนเส้นยืนแล้ว ช่างฝีมือก็จะทอด้วยวิธีจกลวดลายตามแบบที่ได้สืบทอดกันมา ส่วนเส้นพุ่งจะกรอเส้นด้ายเข้าหลอดด้วยตนเอง เพราะเป็นขบวนการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ประการใด
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ผ้าจกมีจุดเด่นที่มีสีสันสลับสอดสีพื้นดำจกด้วยสีแดง แซมด้วยสีเหลืองเขียวเส้นใยละเอียดเนื้อแน่น ลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นคูบัว และแสดงถึงศิลปะของความเป็นไทยท้องถิ่นได้อย่างเด่นชัด เหมาะสมสำหรับนำไปแปรรูปเป็นผ้าซิ่นเสื้อทั้งชาย-หญิง ฯลฯ

ปริมาณการผลิต
สมาชิกสหกรณ์ฯ สามารถผลิตผ้าจกรวมกันเดือนละโดยประมาณ 2,000 ผืน

ราคา
ราคาจำหน่ายโดยเฉลี่ย ประมาณผืนละ 1,000 บาท

สถานที่จำหน่าย
1.ศูนย์สืบทอดภูมิปัญญาไทย ตั้งอยู่บริเวณจิปาถะภัณฑสถานบ้านคูบัว วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
2.สถานที่ราชการจัดให้มีการจำหน่ายสินค้า OTOP ตามแต่โอกาส
3.จำหน่ายต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา,สวิสเซอร์แลนด์,ศรีลังกา,จีน

สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- สหกรณ์การเกษตรไท-ยวน ราชบุรี จำกัด ตั้งอยู่หน้าวัดคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
โทร.07-0259088,01-7631989,09-6164852
- จิปาถะภัณฑสถานบ้านคูบัว ตั้งอยู่หน้าวัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
โทร.01-7631989
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา
ไชโป้วหวานตราชฎา
ชื่อผลิตภัณฑ์ ไชโป้วหวานตราชฎา
ประเภทผลิตภัณฑ์ อาหาร
ผู้ผลิต นางกัลยาณี หยู่เอี่ยม
ที่อยู่ 49 หมู่ที่ 3 ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
โทรศัพท์ 01-8569013
โทรสาร 032-305227
อีเมล์
chadaradish@hotmail.com

ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงมีพื้นที่ที่เหมาะกับการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับพื้นที่ในตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ก็มีแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตรกรรมเกี่ยวกับหัวผักกาดขาว ด้วยพื้นที่เป็นดินปนทรายเหมาะอย่างยิ่งกับการปลูกหัวผักกาดขาวและนิยมปลูกได้ผลดี เฉพาะในช่วงฤดูหนาวของทุกปี จึงควรเก็บกักผลผลิตให้มีเพียงพอต่อการบริโภคทั้งปี โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยการนำมาหมักเค็ม และเพื่อให้มีรสชาติอร่อยน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น จึงนำมาแปรรูปทำเป็นผักกาดดองหวานหรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “หัวไชโป้วหวาน” นั่นเอง

กระบวนการขั้นตอนการผลิต
คัดเลือกหัวผักกาดสดพันธุ์ดีจากไร่นำมาหมักกับเกลือทะเลขาวทิ้งไว้ ประมาณ 1 เดือน จะกลายเป็นผักกาดเค็ม หลังจากนั้นนำผักกาดเค็มมาคัดขนาดตามความต้องการ เพื่อเตรียมไว้สำหรับการดองหวาน โดยเริ่มจากการนำผักกาดดองเค็มมาล้างให้สะอาดทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำมาใส่ถังพลาสติกที่เตรียมไว้ ใส่น้ำตาลทรายขาวแล้วปิดฝาให้มิดชิดทิ้งไว้ 10 - 30 วัน ตามชนิดของผักกาด ก็จะกลายเป็นผักกาดหวาน นำมาผึ่งให้น้ำสะเด็ดแล้วก็สามารถนำมาบรรจุใส่ซอง รอการจำหน่ายต่อไป (ปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการฆ่าเชื้อด้วยแสงยูวีและทดสอบความหวาน - เค็มด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์)

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
- เป็นอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที
- ผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาดและได้มาตรฐานได้รับเครื่องหมายรับรองจาก อย.,มผช.,ฮาลาล,กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและราคาย่อมเยาว์

ปริมาณการผลิต
ผลิต 3,000 กิโลกรัม/วัน หรือ 10,000 ซอง/วัน

ราคา
ราคาขายส่งกิโลกรัมละ 28-30 บาท ราคาขายปลีกกิโลกรัมละ 35 บาท / ราคาขายส่งซองละ 17 บาท ราคาขายปลีกซองละ 25 บาท

สถานที่จำหน่าย
- 49 หมู่ที่ 3 ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 01-8569013
- จำหน่ายโดยตรงที่โรงงานและพ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีกทั่วไป
- มีตัวแทนจัดจำหน่ายส่งไปยังต่างประเทศ (อเมริกา,อินโดนีเซีย,สิงค์โปร์,เดนมาร์ก)
- ศูนย์แสดงสินค้าที่อิมแพค เมืองทองธานี (ออกบูธ)
- ร้านค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์,สหกรณ์พระนคร,สหฟาร์ม,ซุปเปอร์มาร์เก็ต

สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณกัลยาณี หยู่เอี่ยม 49 หมู่ 3 ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120
โทร. 01-8569013 ,032397049 โทรสาร. 032-305227

Tuesday, January 29, 2008

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรา
ไข่เค็มสมุนไพรพอกดินสอพอง


ชื่อผลิตภัณฑ์ ไข่เค็มสมุนไพรพอกดินสอพอง
ประเภท อาหาร
ชื่อผู้ผลิต เกษตรกรเลี้ยงสัตว์เกาะพลับพลา
ที่อยู่ผู้ผลิต 51 หมู่ 5 ถนน - ตำบล เกาะพลับพลา อำเภอ เมือง จังหวัด ราชบุรี
โทรศัพท์ 0-6163-9868
ราคา ฟองละ 4 บาท
ปริมาณการผลิต ประมาณ 2,000 ฟอง/สัปดาห์ หรือประมาณ 8,000 ฟอง/เดือน

ประวัติความเป็นมา
ชาวชุมชนบ้านโคกหินตำบลเกาะพลับพลา ได้รวมตัวและจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ขึ้นโดยขึ้นทะเบียนกับทางราชการ โดยมีวัตถุประสงค์ผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงภายในตำบลเกาะพลับพลา โดยกลุ่มเลี้ยงเป็ดนำไข่เป็ดมาแปรรูปในการถนอมอาหารและใช้ดินสอพองในหมู่บ้านมาเป็นวัตถุเคลือบไข่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรไทย คิดค้นทำสูตรไข่เค็มที่ใช้สมุนไพรไทย ๆ เป็นตัวประกอบ คือ ไข่เค็มสูตรใบเตย ไข่เค็มสูตรกระชายดำ ฯลฯ จนประสบความสำเร็จเป็นที่สนใจของชาวชุมชนที่จะร่วมใจกันผลิตสินค้า สมาชิกของกลุ่มเกษตรกรฯ มีทั้งนักเรียนและผู้ชรามาร่วมดำเนินการ เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรดังกล่าวเป็นผู้ยากจน แต่ก็ร่วมมือร่วมใจการผลิตสินค้าจนเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์"

กระบวนการ/ขั้นตอนการผลิต
นำเกลือไอโอดีน ดินสอพอง และใบเตยมาผสมและนวดให้เข้ากันนำมาหุ้มไข่เป็ด แล้วคลุกขึ้เถ้าแกลบ เก็บใส่ภาชนะที่มิดชิด โดยเก็บไว้ 7 วันนำมาทอดเป็นไข่ดาวและเก็บไว้ 20 วันนำมาต้มเป็นไข่เค็ม

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสมุนไพรไทย คิดค้นทำสูตรไข่เค็มสมุนไพรไทย ๆ เช่น ไข่เค็มสูตรใบเตย , ไข่เค็มสูตรกระชายดำ , ไข่เค็มสูตรขิง เป็นต้น

สถานที่จำหน่าย
ตลาดนัดทั่วไป - โรงพยาบาลจังหวัดราชบุรี - ห้าง SUNNY - ตลาดเทศบาลเมืองราชบุรี

สนใจสั่งซื้อหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองราชบุรี โทร. 032-315021 - กลุ่มเกษตรกร 51 ม.5 ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี - เทศบาลตำบลเขางู โทร. 06-1639868

ที่มา : http://th.88db.com/th/Services/Post_Detail.page/care_household/Pest_Control/?PostID=110434

Thursday, January 24, 2008

ในหลวงกับเทคโนโลยี
การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา" จากการที่สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงเกิดเป็นภาวะมลพิษอันเกิดจากน้ำเน่าเสียที่มีอัตรา และปริมาณสูงขึ้นจนยากแก่การแก้ไขให้บรรเทา เบาบางและกลับมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบ ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณเพื่อศึกษาวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วมกับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า "กังหันน้ำชัยพัฒนา"
การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ
1. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟอง
Chaipattana Aerator, Model RX-1
2. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์"
Chaipattana Aerator, Model RX-3
3.เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4
4.
เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ"ชัยพัฒนาแอร์เจท"
Chaipattana Aerator, Model RX-5 5.เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6
6.
เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์"
Chaipattana Aerator, Model RX-7
7.
เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8
8.
เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา"
Chaipattana Aerator, Model RX-9
9.
เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"
Chaipattana Aerator, Model RX-2
เครื่องกลเติมอากาศต่างๆ นี้ได้นำมาติดตั้งใช้งานกับระบบบำบัดน้ำเสียตามสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 และได้มีการปรับปรุงตลอดเวลา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะให้มีการบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก ในการใช้งาน ประหยัดค่าใช้จ่าย และบำรุงรักษาได้ง่าย ตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน การดำเนินงานในขณะนี้ได้ผล ดีเป็นที่น่าพอใจ ทำให้น้ำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็นลงได้มากและมีปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น บรรดาสัตว์น้ำ อาทิ เต่า ตะพาบน้ำ และปลา สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมวลสารต่าง ๆ ให้ ลดต่ำลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร้องขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาเข้าไปช่วยเหลือในการบำบัด น้ำเสียอย่างเร่งด่วนเป็นจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยนับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก" นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง
หลักการและวิธีการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำ ในแหล่งน้ำเสีย มีส่วนประกอบสำคัญ คือ
- โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
- ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง รูซองน้ำพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย
- ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ซึ่งทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ วิดตักน้ำด้วย ความเร็ว สามารถวิดน้ำลึกลงไปจากใต้ผิวน้ำประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำสาดขึ้นไปกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำ ได้สูงถึง 1 เมตรทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากและส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลายเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว
- ในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศ จมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ซองน้ำกำลังเคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำภายใต้ผิวน้ำ จนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น หลังจากนั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้วจะเกิดการถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซองน้ำ รวมทั้งการโยกตัวของทุ่นลอยในขณะทำงานสามารถผลักดันน้ำให้เคลื่อนที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับความลึกใต้ผิวน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย จึงก่อให้เกิดกระบวนการทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสาน และการทำให้เกิดการไหลของน้ำเสียไปตามทิศทางที่กำหนดโดยพร้อมกัน เครื่องกลนี้สามารถที่จะบำบัดน้ำเสียที่มีความสกปรก (BOD) 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้วันละ 600 ลูกบาศก์เมตร ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD ได้สูงกว่า 90 เปอร์เซนต์ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงลูกบาศก์เมตรละ 96 สตางค์คิดเป็นจำนวนความสกปรกในหน่วยกิโลกรัม BOD เสียค่าใช้จ่าย 3.84 บาทเท่านั้น